บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันพุธที่ 21 กุมพาพันธ์ พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เพื่อนๆได้นำเสนอตัวอย่างการสอน บทความ รวมถึงวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่เพื่อนนำเสนอค่ะ
👉 นางสาววัชรา ค้าสุกร 
       ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์เรื่อง : การสอนคณิตคิดสนุก
👉 นางสาวเพ็ญประภา บุญมา
      บทความเรื่อง : เสริมการเรียนเลขให้กับลูก
       การเสริมคณิตศาสตร์ในเด็กควรเริ่มต้นที่พ่อแม่และคนใกล้ชิด เพราะเด็กจะเลียนแบบและเรียนรู้สิ่งที่ดีจากบุคคลที่เขาใกล้ชิด 
👉 นายปฏิภาณ จินดาดวง
      วิจัย : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
       เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น รวมถึงทักษะการเปรียบเทียบจำนวณ การคำนวณ การเรียงลำดับทางคณิตศาสตร์ การจัดกิจกรรมนี้ทำให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น

     สาระการเรียนรู้ มีดังนี้
1.ประสบการณ์สำคัญ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และ ด้านสติปัญญา
2.สาระที่ควรเรียนรู้ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อม ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก 
     การสอนควรดูจากความสนใจของเด็ก เมื่อเด็กมีความสนใจก็นำไปสู่การสอนแบบ Project Apporach ครูควรดูพัฒนาการของเด็กเป็นองค์ประกอบของการสอนด้วย ควรให็เด็กได้ลงมือกระทำ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กได้ตัดสินใจการเรียนรู้ด้วยตนเอง ถ้าเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง แสดงว่า เด็กเกิดการเรียนรู้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : พยายามตอบคำถามตลอดเวลาค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งคำถามให้พวกเราได้คิดและได้พูดออกมา ทำให้จำได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6  ( ไม่มาเรียน )
วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 

     อาจารย์อธิบายทฤษฏีของนักการศึกษา รวมถึงขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ดังนี้
  1. การนับ Counting
  2. ตัวเลข Number
  3. การจับคู่ Matching
  4. การจัดประเภท Classification
  5. การเปรียบเทียบ Comparing
  6. การจัดลำดับ Ordering
  7. รูปทรงและเนื้อที่ Shape and Space
  8. การวัด เป็นการอธิบายง่ายๆให้เด็กเข้าใจ Measurement
  9. เซต Set
  10. เศษส่วน Fraction
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย Patterning 
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ Conservation
     หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
  1. เด็กได้เรียนรู้จากของจริง
  2. เริ่มจากง่ายไปยาก
  3. สร้างความเข้าใจมากกวาให้ท่องจำ
  4. เริ่มจากสิ่งใกล้ตัวที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
  5. ก่อให้เกิดความสนุกสนาน
  6. ให้เด็กได้มีประสบการณ์
  7. จัดกิจกรรมทบทวนโดยการถามปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กมีปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง
อ้างอิง : https://namparipari.blogspot.com/
              นางสาวปริชดา นิราศรพจรัส เลขที่ 25 

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  1. การนับ : การนับจำนวนสิ่งของที่อยู่รอบตัว
  2. ตัวเลข : การบอกน้ำหนัก, การบอกอายุตัวเอง
  3. การจับคู่ : จับคู่ภาพที่เหมือนกัน หรือสิ่งของที่เหมือนกัน
  4. การจัดประเภท : การจัดหมวดหมู่ เช่น ผัก ผลไม้
  5. การเปรียบเทียบ : การเปรียบเทียบขนาดของรองเท้า ใหญ่กว่า เล็กกว่า
  6. การจัดลำดับ : เรียงลำดับขนาดของไม้จากสั้นไปยาว
  7. รูปทรงและเนื้อที่ : กิจกรรมให้บอกรูปทรงต่างๆ เพื่อให้เด็กสามารถจำแนกรูปทรงและหาเนื้อที่ได้
  8. การวัด : การวัดความยาวของสนามโดยให้นักเรียนยืนกางแขนเรียงต่อกัน 
  9. เซต : การจับคู่ของจำนวนเซตที่ไม่เท่ากัน
  10. เศษส่วน : การแบ่งขนมเค้ก 
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย : ตัดกระดาษตามแบบ
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ : ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 9 กุมพาพันธ์ พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้ต้นคาบอาจารย์ให้นำเสนอบทความ และ วิจัยเกี่ยวกับการสนอคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

  • นางสาวรุ่งฤดี โสดา ได้นำเสนอบทความที่เกี่ยวกับการให้เด็กลงมือทำ ควรให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่ในชีวิตประจำวัน และในการเรียนเด็กไม่ควรเครียดเกินไป
  • นางสาวรัตนา พงษา นำเสนอวิจัยเรื่องการพัฒนาโดยสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมคณิตศาสตร์ โดยที่ผู้สอนต้องวิเคราะห์ก่อนว่าเด็กในวัยนี้อยู่ในช่วงใด และควรเรียนเรื่องใด จากนั้นก็ลงมือสอน และเปรียบเที่ยบการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนว่าเด็กได้อะไรจากการเรียนรู้ เพื่อนได้สาธิตวิธีการสอนด้วยค่ะ

     หลังจากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น และได้ให้พวกเราช่วยกันคิดว่าสิ่งที่เกืดขึ้นสามารถทำให้เป็นประโยคสัญลักษ์ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง

     ต่อมาอาจารย์ได้สอนการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ตัวเลือก คือ ส้มตำ และ ลาบไก่ โดยให้นักศึกษาทุกคนออกไปเลือกว่าตัวเองชอบกินอาหารประเภทไหนมากกว่ากัน 

     อาจารย์ให้แต่ละคนเขียนลงในแผ่นกระดาษโดยคิดว่าคนเราใช้คณิตศาสตร์ทำอะไรบ้างในชีวิตประจำวัน สำหรับตัวนักศึกษาเองคิดว่า คณิตศาสตร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือ การกดเงินในบัตร ATM คือเราจะได้จดจำรหัสของบัตร เลขบัญชี และการคิดคำนวณยอดเงินในบัญชีค่ะ

     กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ได้เปิดเพลงแล้วให้พวกเราทำสัญลักษณ์แทนจังหวังการปรบมือค่ะ 

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ได้ใช้ความคิดในการเรียนครั้งนี้เยอะมาก
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เต็มที่กับการสอน บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมากค่ะ 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ 2561 

ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ซึ่งเพื่อนๆได้กระดาษไม่ครบเพราะกระดาษมี 17 แผ่น และในห้องมีนักศึกษา จำนวน 19 คน อาจารย์ได้ให้พวกเราช่วยกันคิดว่าปัญหาดังกล่าวสามารถนำมาสอนคณิตศาสตร์ได้ คือ

  • กระดาษมีจำนวนน้อยกว่าคน
  • กระดาษ < คน
  • 17 < 19
  • 19 -17 = 2
                

     ต่อมาอาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น และให้พวกเราพับกระดาษเป็น 2 ส่วน ซึ่งตอนแรกพวกเราพับกระดาษเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ อาจารย์จินตนาได้สอนว่าการแบ่งเป็นสองส่วนไม่จำเป็นต้องพับเป็นแบบใดแบบหนึ่ง เพราะความคิดของคนเราไม่มีขีดจำกัด

     คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก พัฒนากาคือ พฤจิกรรมที่แสดงออกมาในแต่ละระดับอายุ พัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้น อย่างต่อเนื่องเป็นขั้นบันได ไม่ก้าวกระโดดและเชื่อมโยงกับสมอง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ได้ความรู้ในการนำคณิตศาสตร์ไปจัดการเรียนรู้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดีค่ะ