บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6  ( ไม่มาเรียน )
วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 

     อาจารย์อธิบายทฤษฏีของนักการศึกษา รวมถึงขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ดังนี้
  1. การนับ Counting
  2. ตัวเลข Number
  3. การจับคู่ Matching
  4. การจัดประเภท Classification
  5. การเปรียบเทียบ Comparing
  6. การจัดลำดับ Ordering
  7. รูปทรงและเนื้อที่ Shape and Space
  8. การวัด เป็นการอธิบายง่ายๆให้เด็กเข้าใจ Measurement
  9. เซต Set
  10. เศษส่วน Fraction
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย Patterning 
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ Conservation
     หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
  1. เด็กได้เรียนรู้จากของจริง
  2. เริ่มจากง่ายไปยาก
  3. สร้างความเข้าใจมากกวาให้ท่องจำ
  4. เริ่มจากสิ่งใกล้ตัวที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
  5. ก่อให้เกิดความสนุกสนาน
  6. ให้เด็กได้มีประสบการณ์
  7. จัดกิจกรรมทบทวนโดยการถามปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กมีปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง
อ้างอิง : https://namparipari.blogspot.com/
              นางสาวปริชดา นิราศรพจรัส เลขที่ 25 

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  1. การนับ : การนับจำนวนสิ่งของที่อยู่รอบตัว
  2. ตัวเลข : การบอกน้ำหนัก, การบอกอายุตัวเอง
  3. การจับคู่ : จับคู่ภาพที่เหมือนกัน หรือสิ่งของที่เหมือนกัน
  4. การจัดประเภท : การจัดหมวดหมู่ เช่น ผัก ผลไม้
  5. การเปรียบเทียบ : การเปรียบเทียบขนาดของรองเท้า ใหญ่กว่า เล็กกว่า
  6. การจัดลำดับ : เรียงลำดับขนาดของไม้จากสั้นไปยาว
  7. รูปทรงและเนื้อที่ : กิจกรรมให้บอกรูปทรงต่างๆ เพื่อให้เด็กสามารถจำแนกรูปทรงและหาเนื้อที่ได้
  8. การวัด : การวัดความยาวของสนามโดยให้นักเรียนยืนกางแขนเรียงต่อกัน 
  9. เซต : การจับคู่ของจำนวนเซตที่ไม่เท่ากัน
  10. เศษส่วน : การแบ่งขนมเค้ก 
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย : ตัดกระดาษตามแบบ
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ : ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น